วันอังคารที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

การละเล่นพื้นบ้านภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ( ภาคอีสาน ) นายภาคภูมิ เพ็ชรนอก รหัส 56011210046 รายวิชา การจัดการสารสนเทศยุคใหม่ในชีวิตประจำวัน กลุ่มเรียนที่ 2

การละเล่นพื้นบ้านภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ( ภาคอีสาน )


ก๊อกล๊อต



ภาค  :  ตะวันออกเฉียงเหนือ
จังหวัด  :  เลย
อุปกรณ์และวิธีเล่น  :  อุปกรณ์ที่เล่นประกอบด้วยแผ่นไม้กระดานแผ่นเรียบ ๑ แผ่น ไม้ขนาดหน้าสาม ๑ ท่อนและเหรียญบาทหรือเหรียญห้าบาท หรือเหรียญสิบบาท
วิธีการเล่น
เริ่มโดยเตรียมสถานที่เป็นที่โล่งแล้วนำไม้กระดานแผ่นเรียบไปพิงไว้ที่ใดที่หนึ่งให้ทำมุมเฉียง ๔๕ องศา ต่อจากนี้นำไม้หน้าสามไปวางเป็นแนวนอนให้อยู่ตรงข้ามกับไม้กระดานแผ่นเรียบโดยให้ห่างจากกันประมาณ ๑ เมตร เมื่อเตรียมทุกอย่างเสร็จเรียบร้อยผู้เล่นจะมีจำนวนกี่คนก็ได้เข้าแถวเพื่อรอคิวกลิ้งเหรียญจากแผ่นไม่กระดานแผ่นเรียบไปกระทบแผ่นไม้หน้าสาม การตัดสิน หากเหรียญของผู้เล่นคนใดกรกระเด็นออกไปไกลที่สุดก็จะถือว่าเป็นผู้ชนะ รางวัล คือเหรียญทั้งหมดที่มีผู้ลงเล่นในแต่ละครั้ง แต่การละเล่นก๊อกล๊อตมีเงื่อนไขข้อหนึ่งว่าการใช้เหรียญเพื่อแข่งขันผู้เล่นต้องใช้เหรียญประเภทเดียวกัน
โอกาสหรือเวลาที่เล่น  :  นิยมเล่นในช่วงเดือนเมษายนของทุกปีคือเทศกาลสงกรานต์
คุณค่า/แนวคิด/สาระ  :  การละเล่นก๊อกล๊อตมิใช่การละเล่นที่มุ่งเพื่อการพนัน แต่เป็นการละเล่นเพื่อความสนุกสนาน คลายความเครียดความเหน็ดเหนื่อยหลังจาก ฤดูเก็บเกี่ยวข้าว อีกทั้งเป็นการเชื่อมความสมัครสมานสามัคคี


งูกินหาง




ภาค  :  ตะวันออกเฉียงเหนือ
จังหวัด  :  ร้อยเอ็ด
อุปกรณ์และวิธีเล่น  :  การเล่นงูกินหางไม่มีอุปกรณ์การเล่นใดๆ สามารถเล่นได้ทุกโอกาส จะมีเล่นทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ส่วนมากผู้ใหญ่จะเล่นในเทศกาลสำคัญ เช่น สงกรานต์ ส่วนเด็กๆจะเล่นทุกโอกาสที่เด็กๆรวมตัวกัน ซึ่งมีวิธีการเล่นดังนี้ เริ่มเล่นเมื่อผู้เล่นพร้อมกันแล้วจะเริ่มด้วยการเสี่ยง ถ้าใครแพ้คนนั้นก็จะออกเป็นพ่องู ส่วนผู็ชนะก็จะได้เป็นแม่งูและลูกงู ส่วนมาในกลุ่มผู้เล่นจะเลือกเอมคนที่มีร่างกายแข็งแรงหรือรูปร่างใหญ่ในทีมเป็นแม่งู เพื่อเอาไว้ป้องกันลูกงู เมื่อได้ผู้เล่นแล้วพ่องูและแม่งูจะยืนหันหน้าเข้าหากัน ส่วนแม่งูจะมีลูกงูกอดเอวต่อแถวไปข้างหลังแล้วพ่องูจะเริ่มถามแม่งูว่า

พ่องู : " แม่งูเอ๋ยกินน้ำบ่อไหน"
แม่งู : " กินน้ำบ่อโสกโยกไปโยกมา" พร้อมแสดงอาการส่ายตัวไปมา
พ่องู : " แม่งูเอ๋ยกินน้ำบ่อไหน"
แม่งู : " กินน้ำบ่อหินบินไปก็บินมา" พร้อมแสดงอาการบินไปบินมา
พ่องู : " แม่งูเอ๋ยกินน้ำบ่อไหน"
แม่งู : " กินน้ำบ่อทรายย้ายไปย้ายมา" พร้อมแสดงอาการส่ายตัวไปมา
พ่องู : " กินหัวกินหางกินกลางตลอดตัว"

เมื่อพ่องูกล่าวเสร็จ พ่องูจะเริ่มไล่จับลูกงูที่กอดเอวแม่งูอยู่ ส่วนแม่งูก็จะพยายามป้องกันไม่ให้พ่องูไปแย่งลูกงูได้ เมื่อพ่องูจับลูกงูคนใดได้ลูกงูก็จะออกมายืนอยู่ต่างหากเพื่อรอเล่นรอบต่อไป ส่วนพ่องูจะพยายามแย่งลูกงูให้ได้หมดทุกตัวจึงจะถือว่าจบการเล่นรอบหนึ่ง เมื่อพ่องูจับลูกงูได้ทุกตัวแล้วก็จะเริ่มเล่นใหม่ โดยพ่องูคนเดิมจะกลับไปเป็นแม่งูในรอบต่อไป
คุณค่า/แนวคิด/สาระ    :    ๑.  ให้ความสนุกสนานในกลุ่มผู้เล่น
                                          ๒.  ฝึกให้เกิดความสามัคคีในกลุ่มผู้เล่น
                                          ๓.  ฝึกฝนการต่อสู้และการหลบหลีกภัยที่เกิดกับตน
                                          ๔.  ฝึกการทำงานเป็นกลุ่มตั้งแต่วัยเด็ก
                                          ๕.  ได้ออกกำลังกาย ทำให้ร่างกายแข็งแรง


เดินกะลา




ภาค  :  ตะวันออกเฉียงเหนือ
จังหวัด  :  ยโสธร
อุปกรณ์  :  ประกอบด้วยกะลาสองอันขนาดเท่าๆกัน เจาะรูตรงกลางแล้วใช้เชือกหนึ่งเส้นยาวประมาณ ๒-๓ เมตร หรือพอเหมาะกับผู้เล่น ปลายแต่ละข้างสอดเข้าไปในรูกะลาที่เจาะไว้ โดยคว่ำกะลาแล้วผูกปมเชือกไว้ให้โตกว่ารูของกะลาเพื่อกันเชือกหลุดเวลาเล่น
วิธีการเล่น
ผู้เล่นจะขึ้นไปยืนบนกะลาโดยใช้นิ้วหัวแม่เท้าและนิ้วชี้คีบเชือกบนกะลา มือสองข้างดึงเชือกให้ตึง และเดินแข่งขันกัน
โอกาสหรือเวลาที่จะเล่น  :  เล่นได้ทุกโอกาส แต่มักจะมีการเล่นเมื่อมีงานเทศกาลต่างๆ
คุณค่า/แนวคิด/สาระ  :  เพื่อความสนุกสนาน และความสามัคคีในหมู่คณะ


โปงลาง




ภาค  :  ตะวันออกเฉียงเหนือ
จังหวัด  :  กาฬสินธุ์
อุปกรณ์  :  การเล่นโปงลางต้องประกอบไปด้วยดนตรีพื้นบ้าน ได้แก่ แคน ซอ พิณ หมากกั๊บเก็บ กลอง ไห นอกจากนี้ปัจจุบันได้พัฒนาขึ้นโดยมีนักร้องและผู้ร่ายรำประกอบเสียงดนตรีในวงโปงลางอีกด้วย
วิธีการเล่น
ทำนองลายโปงลางที่บรรเลงนั้น ได้จากการเลียนเสียงธรรมชาติและวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวอีสาน เช่น
๑.  สายลมพัดพร้าว ลีลาของเพลงแสดงถึงเสียงลมที่พัดมาถูกใบมะพร้าวจะแกว่งสะบัดตามแรงลมกลายเป็นเสียงและลีลาที่น่าฟังยิ่ง
๒.  ลายโปงลาง ลีลาของเพลงนี้จะทำให้ผู้ฟังนึกถึงเสียงกระดิ่งผูกคอวัวที่ดังอยู่ไม่ขาดระยะมองเป็นวัวเดินตามกันเป็นทิวแถวข้ามทุ่ง
๓.  ลายช้างขึ้นภู ลีลาของเพลงจะมีความเนิบช้าสง่างาม เหมือนลีลาการเดินของช้างที่กำลังเดินขึ้นภูเขาสูง
๔.  ลายแมลงภู่ตอมดอกไม้ ลีลาของเพลงจะทำให้มองเห็นภาพของแมลงภู่ที่บินวนเดูดน้ำหวายจากเกสรดอกไม้เป็นหมู่ๆ พร้อมกับส่งเสียงร้องด้วยความสดชื่นรื่นเริง
๕.  ลายนกไซบินข้ามทุ่ง ลีลาของเพลงบรรยายถึงลีลาของนกที่บินเป็นหมู่ข้ามท้องทุ่งอันเขียวขจีด้วยนาข้าว
๖.  ลายแม่ฮ้างกล่อมลูก ลีลาของเพลงสะท้อนให้เป็นถึงความอ้างว้างว้าเหว่ของหญิงที่ถูกสามีทอดทิ้งต้องกล่อมลูกอยู่เดียวดายตามลำพัง
๗.  ลายภูไทยเลาะตูบ ลีลาของเพลงแสดงถึงภาพชีวิตของหนุ่มชาวภูไทที่มักจะแวะเวียนไปพูดกับหญิงสาวตามบ้านต่างๆในเวลาค่ำ
            นอกจากนั้นยังมีลาย กาเต้นก้อน จะไข้เทียบเสียงโปงลางแต่ละลูกหลังจากทำเสร็จเรียบร้อย ซึ่งถือเป็นลายครูของโปงลาง และลายอื่นๆอีกซึ่งถือเป็นลายหลัก คือลายอ่านหนังสือใหญ่ อ่านหนังสือน้อย ลายสร้อย และลายเซ ซึ่งเพียงฟังจากชื่อก็จะรับรู้ถึงท่วงทำนองของเพลงที่กลั่นกรองมาจากชีวิตพื้นบ้านและธรรมชาติรอบข้าง
คุณค่า/แนวคิด/สาระ    : โปงลาง เป็นเครื่องดนตรีพื้นเมืองของอีสานชนิดหนึ่งที่ถือกำเนิดที่จังหวัดกาฬสินธุ์ จึงถือเป็นสัญลักษณ์ของจังหวัดกาฬสินธุ์ มีประวัติความเป็นมาที่น่าสนใจ โดยเฉพาะผู้สืบทอดและอนุรักษ์ไว้ คือ นายเปลื้อง ฉายรัศมี ศิลปินแห่งชาติ โปงลางจึงควรแก่การอนุรักษ์และถ่ายทอดให้เยาวชนรุ่นหลังได้ทราบ และตระหนักถึงคุณค่าของศิลปวัฒนธรรมที่ดีงาม และคุณความดีของบุคคลที่น่ายึดถือเป็นแบบอย่างสืบทอดไว้ตราบชั่วกาลนาน


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น