วันอังคารที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

การละเล่นพื้นบ้านภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ( ภาคอีสาน ) นายภาคภูมิ เพ็ชรนอก รหัส 56011210046 รายวิชา การจัดการสารสนเทศยุคใหม่ในชีวิตประจำวัน กลุ่มเรียนที่ 2

การละเล่นพื้นบ้านภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ( ภาคอีสาน )


ก๊อกล๊อต



ภาค  :  ตะวันออกเฉียงเหนือ
จังหวัด  :  เลย
อุปกรณ์และวิธีเล่น  :  อุปกรณ์ที่เล่นประกอบด้วยแผ่นไม้กระดานแผ่นเรียบ ๑ แผ่น ไม้ขนาดหน้าสาม ๑ ท่อนและเหรียญบาทหรือเหรียญห้าบาท หรือเหรียญสิบบาท
วิธีการเล่น
เริ่มโดยเตรียมสถานที่เป็นที่โล่งแล้วนำไม้กระดานแผ่นเรียบไปพิงไว้ที่ใดที่หนึ่งให้ทำมุมเฉียง ๔๕ องศา ต่อจากนี้นำไม้หน้าสามไปวางเป็นแนวนอนให้อยู่ตรงข้ามกับไม้กระดานแผ่นเรียบโดยให้ห่างจากกันประมาณ ๑ เมตร เมื่อเตรียมทุกอย่างเสร็จเรียบร้อยผู้เล่นจะมีจำนวนกี่คนก็ได้เข้าแถวเพื่อรอคิวกลิ้งเหรียญจากแผ่นไม่กระดานแผ่นเรียบไปกระทบแผ่นไม้หน้าสาม การตัดสิน หากเหรียญของผู้เล่นคนใดกรกระเด็นออกไปไกลที่สุดก็จะถือว่าเป็นผู้ชนะ รางวัล คือเหรียญทั้งหมดที่มีผู้ลงเล่นในแต่ละครั้ง แต่การละเล่นก๊อกล๊อตมีเงื่อนไขข้อหนึ่งว่าการใช้เหรียญเพื่อแข่งขันผู้เล่นต้องใช้เหรียญประเภทเดียวกัน
โอกาสหรือเวลาที่เล่น  :  นิยมเล่นในช่วงเดือนเมษายนของทุกปีคือเทศกาลสงกรานต์
คุณค่า/แนวคิด/สาระ  :  การละเล่นก๊อกล๊อตมิใช่การละเล่นที่มุ่งเพื่อการพนัน แต่เป็นการละเล่นเพื่อความสนุกสนาน คลายความเครียดความเหน็ดเหนื่อยหลังจาก ฤดูเก็บเกี่ยวข้าว อีกทั้งเป็นการเชื่อมความสมัครสมานสามัคคี


งูกินหาง




ภาค  :  ตะวันออกเฉียงเหนือ
จังหวัด  :  ร้อยเอ็ด
อุปกรณ์และวิธีเล่น  :  การเล่นงูกินหางไม่มีอุปกรณ์การเล่นใดๆ สามารถเล่นได้ทุกโอกาส จะมีเล่นทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ส่วนมากผู้ใหญ่จะเล่นในเทศกาลสำคัญ เช่น สงกรานต์ ส่วนเด็กๆจะเล่นทุกโอกาสที่เด็กๆรวมตัวกัน ซึ่งมีวิธีการเล่นดังนี้ เริ่มเล่นเมื่อผู้เล่นพร้อมกันแล้วจะเริ่มด้วยการเสี่ยง ถ้าใครแพ้คนนั้นก็จะออกเป็นพ่องู ส่วนผู็ชนะก็จะได้เป็นแม่งูและลูกงู ส่วนมาในกลุ่มผู้เล่นจะเลือกเอมคนที่มีร่างกายแข็งแรงหรือรูปร่างใหญ่ในทีมเป็นแม่งู เพื่อเอาไว้ป้องกันลูกงู เมื่อได้ผู้เล่นแล้วพ่องูและแม่งูจะยืนหันหน้าเข้าหากัน ส่วนแม่งูจะมีลูกงูกอดเอวต่อแถวไปข้างหลังแล้วพ่องูจะเริ่มถามแม่งูว่า

พ่องู : " แม่งูเอ๋ยกินน้ำบ่อไหน"
แม่งู : " กินน้ำบ่อโสกโยกไปโยกมา" พร้อมแสดงอาการส่ายตัวไปมา
พ่องู : " แม่งูเอ๋ยกินน้ำบ่อไหน"
แม่งู : " กินน้ำบ่อหินบินไปก็บินมา" พร้อมแสดงอาการบินไปบินมา
พ่องู : " แม่งูเอ๋ยกินน้ำบ่อไหน"
แม่งู : " กินน้ำบ่อทรายย้ายไปย้ายมา" พร้อมแสดงอาการส่ายตัวไปมา
พ่องู : " กินหัวกินหางกินกลางตลอดตัว"

เมื่อพ่องูกล่าวเสร็จ พ่องูจะเริ่มไล่จับลูกงูที่กอดเอวแม่งูอยู่ ส่วนแม่งูก็จะพยายามป้องกันไม่ให้พ่องูไปแย่งลูกงูได้ เมื่อพ่องูจับลูกงูคนใดได้ลูกงูก็จะออกมายืนอยู่ต่างหากเพื่อรอเล่นรอบต่อไป ส่วนพ่องูจะพยายามแย่งลูกงูให้ได้หมดทุกตัวจึงจะถือว่าจบการเล่นรอบหนึ่ง เมื่อพ่องูจับลูกงูได้ทุกตัวแล้วก็จะเริ่มเล่นใหม่ โดยพ่องูคนเดิมจะกลับไปเป็นแม่งูในรอบต่อไป
คุณค่า/แนวคิด/สาระ    :    ๑.  ให้ความสนุกสนานในกลุ่มผู้เล่น
                                          ๒.  ฝึกให้เกิดความสามัคคีในกลุ่มผู้เล่น
                                          ๓.  ฝึกฝนการต่อสู้และการหลบหลีกภัยที่เกิดกับตน
                                          ๔.  ฝึกการทำงานเป็นกลุ่มตั้งแต่วัยเด็ก
                                          ๕.  ได้ออกกำลังกาย ทำให้ร่างกายแข็งแรง


เดินกะลา




ภาค  :  ตะวันออกเฉียงเหนือ
จังหวัด  :  ยโสธร
อุปกรณ์  :  ประกอบด้วยกะลาสองอันขนาดเท่าๆกัน เจาะรูตรงกลางแล้วใช้เชือกหนึ่งเส้นยาวประมาณ ๒-๓ เมตร หรือพอเหมาะกับผู้เล่น ปลายแต่ละข้างสอดเข้าไปในรูกะลาที่เจาะไว้ โดยคว่ำกะลาแล้วผูกปมเชือกไว้ให้โตกว่ารูของกะลาเพื่อกันเชือกหลุดเวลาเล่น
วิธีการเล่น
ผู้เล่นจะขึ้นไปยืนบนกะลาโดยใช้นิ้วหัวแม่เท้าและนิ้วชี้คีบเชือกบนกะลา มือสองข้างดึงเชือกให้ตึง และเดินแข่งขันกัน
โอกาสหรือเวลาที่จะเล่น  :  เล่นได้ทุกโอกาส แต่มักจะมีการเล่นเมื่อมีงานเทศกาลต่างๆ
คุณค่า/แนวคิด/สาระ  :  เพื่อความสนุกสนาน และความสามัคคีในหมู่คณะ


โปงลาง




ภาค  :  ตะวันออกเฉียงเหนือ
จังหวัด  :  กาฬสินธุ์
อุปกรณ์  :  การเล่นโปงลางต้องประกอบไปด้วยดนตรีพื้นบ้าน ได้แก่ แคน ซอ พิณ หมากกั๊บเก็บ กลอง ไห นอกจากนี้ปัจจุบันได้พัฒนาขึ้นโดยมีนักร้องและผู้ร่ายรำประกอบเสียงดนตรีในวงโปงลางอีกด้วย
วิธีการเล่น
ทำนองลายโปงลางที่บรรเลงนั้น ได้จากการเลียนเสียงธรรมชาติและวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวอีสาน เช่น
๑.  สายลมพัดพร้าว ลีลาของเพลงแสดงถึงเสียงลมที่พัดมาถูกใบมะพร้าวจะแกว่งสะบัดตามแรงลมกลายเป็นเสียงและลีลาที่น่าฟังยิ่ง
๒.  ลายโปงลาง ลีลาของเพลงนี้จะทำให้ผู้ฟังนึกถึงเสียงกระดิ่งผูกคอวัวที่ดังอยู่ไม่ขาดระยะมองเป็นวัวเดินตามกันเป็นทิวแถวข้ามทุ่ง
๓.  ลายช้างขึ้นภู ลีลาของเพลงจะมีความเนิบช้าสง่างาม เหมือนลีลาการเดินของช้างที่กำลังเดินขึ้นภูเขาสูง
๔.  ลายแมลงภู่ตอมดอกไม้ ลีลาของเพลงจะทำให้มองเห็นภาพของแมลงภู่ที่บินวนเดูดน้ำหวายจากเกสรดอกไม้เป็นหมู่ๆ พร้อมกับส่งเสียงร้องด้วยความสดชื่นรื่นเริง
๕.  ลายนกไซบินข้ามทุ่ง ลีลาของเพลงบรรยายถึงลีลาของนกที่บินเป็นหมู่ข้ามท้องทุ่งอันเขียวขจีด้วยนาข้าว
๖.  ลายแม่ฮ้างกล่อมลูก ลีลาของเพลงสะท้อนให้เป็นถึงความอ้างว้างว้าเหว่ของหญิงที่ถูกสามีทอดทิ้งต้องกล่อมลูกอยู่เดียวดายตามลำพัง
๗.  ลายภูไทยเลาะตูบ ลีลาของเพลงแสดงถึงภาพชีวิตของหนุ่มชาวภูไทที่มักจะแวะเวียนไปพูดกับหญิงสาวตามบ้านต่างๆในเวลาค่ำ
            นอกจากนั้นยังมีลาย กาเต้นก้อน จะไข้เทียบเสียงโปงลางแต่ละลูกหลังจากทำเสร็จเรียบร้อย ซึ่งถือเป็นลายครูของโปงลาง และลายอื่นๆอีกซึ่งถือเป็นลายหลัก คือลายอ่านหนังสือใหญ่ อ่านหนังสือน้อย ลายสร้อย และลายเซ ซึ่งเพียงฟังจากชื่อก็จะรับรู้ถึงท่วงทำนองของเพลงที่กลั่นกรองมาจากชีวิตพื้นบ้านและธรรมชาติรอบข้าง
คุณค่า/แนวคิด/สาระ    : โปงลาง เป็นเครื่องดนตรีพื้นเมืองของอีสานชนิดหนึ่งที่ถือกำเนิดที่จังหวัดกาฬสินธุ์ จึงถือเป็นสัญลักษณ์ของจังหวัดกาฬสินธุ์ มีประวัติความเป็นมาที่น่าสนใจ โดยเฉพาะผู้สืบทอดและอนุรักษ์ไว้ คือ นายเปลื้อง ฉายรัศมี ศิลปินแห่งชาติ โปงลางจึงควรแก่การอนุรักษ์และถ่ายทอดให้เยาวชนรุ่นหลังได้ทราบ และตระหนักถึงคุณค่าของศิลปวัฒนธรรมที่ดีงาม และคุณความดีของบุคคลที่น่ายึดถือเป็นแบบอย่างสืบทอดไว้ตราบชั่วกาลนาน


วัฒนธรรมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ( ภาคอีสาน ) นายภาคภูมิ เพ็ชรนอก รหัส 56011210046 รายวิชา การจัดการสารสนเทศยุคใหม่ในชีวิตประจำวัน กลุ่มเรียนที่ 2

วัฒนธรรมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ( ภาคอีสาน )

         ภาคอีสานมีพื้นที่กว้างใหญ่ พื้นที่ราบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมักมีทะเลสาบรูปแอกเป็นจำนวนมาก แต่ทะเลสาบเหล่านี้จะมีน้ำเฉพาะฤดูฝนเท่านั้น เมื่อถึงฤดูร้อนน้ำก็จะเหือดแห้งไปหมด เพราะดินส่วนใหญ่ เป็นดินทรายไม่อุ้มน้ำ น้ำจึงซึมผ่านได้เร็ว ภาคนี้จึงมีปัญหาเรื่องการขาดแคลนน้ำ และดินขาดความอุดม สมบูรณ์ ทำให้พื้นที่บางแห่งไม่สามารถใช้ประโยชน์ในการเกษตรได้อย่างเต็มที่ ด้วยที่มีความแห้งแล้ง ขาด แคลนน้ำ ทำให้เกิดความเชื่อ และประเพณีเกี่ยวข้องกับการขอฝน เช่น งานบุญบั้งไฟ ซึ่งถือว่าเป็นเทศกาล สำคัญ หรือด้วยเหตุผลจากความสัมพันธ์ทางประวัติศาสตร์ ทำให้มีกลุ่มคนหลายกลุ่มอพยพเข้ามาจากดิน แดนใกล้เคียง มีการสร้างสรรค์วัฒนธรรมของกลุ่มขึ้น เช่น การพูดภาษาอีสาน ภาษาเขมร ภาษาส่วย การ แสดงหมอลำ การร้องกันตรึม เป็นต้น



วัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับอาหารการกิน

อาหารหลักของชาวอีสาน คือ ข้าวเหนี่ยว เช่นเดียวกับชาวเหนือ สิ่งของเครื่องใช้เกี่ยวกับการทำและเก็บ อาหารจึงเหมือนกัน ส่วนอาหารจานหลักเกี่ยวกับข้าวเหนี่ยว คือ ปลาร้า ซึ่งเป็นปลาที่นำมาหมักกับเกลือ และรำหรือข้าวคั่ว นำมาปรุงเป็นอาหารประเภทต่างๆ เช่น

น้ำพริกปลาร้า หรือน้ำปลาร้ามาเป็นเครื่องปรุงรสแทนน้ำ ปลาในอาหารชนิดต่างๆ เช่น ลาบ ก้อย หมก ต้ม คั่ว แกง อ่อม และอาหารเกือบทุกมื้อต้องมีแจ่วที่ใส่น้ำปลาร้าเป็น เครื่องปรุง ความเคยชินในการรับประทานอาหารของชาว อีสาน คือ ชอบรับประทานอาหารดิบๆ ด้วยความเชื่อว่าจะ ทำให้ร่างกายแข็งแรง แต่อาหารแบบนี้มีพยาธิใบไม้ในตับ ทำให้ชาวอีสานส่วนใหญ่เป็นโรคพยาธิ และสุขภาพไม่ค่อย ดี ทางการจึงรณรงค์และส่งเสริมให้ชาวอีสานมีความรู้เรื่อง โภชนาการ เพื่อเปลี่ยนค่านิยมในการรับประทานให้ถูกสุข ลักษณะ
            วัฒนธรรมเรื่องอาหารการกินของชาวอีสาน ปัจจุบันแพร่หลายไปทั่วประเทศและต่างประเทศ ที่มีชาว อีสานทำงานอยู่ เห็นได้จากการนำปลาร้ามาแปรรูปเป็นปลาร้าผง ปลาร้าตากแห้ง เพื่อส่งออกไปขายยังต่าง ประเทศ โดยเฉพาะประเทศที่มีแรงงานชาวอีสานและชาวลาวอยู่มาก ปลาร้าจึงเป็นสินค้าที่ทำรายได้เข้า ประเทศอีกชนิดหนึ่ง


วัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับที่อยู่อาศัย

         เรือนไทยภาคอีสาน เป็นหนึ่งในเรือนไทย 4 ภาคของไทย แบ่งออกได้เป็นการปลูกเรือนในลักษณะชั่ว คราว กึ่งถาวร หรือเรือนถาวรประเภทของเรือนอีสาน

เอกลักษณ์ของเรือนไทยภาคอีสาน

          มีลักษณะเด่นอยู่ 3 ประเภท คือ
1.  ไม่นิยมทำหน้าต่างทางด้านหลังตัวเรือน ถ้าจะทำจะเจาะเป็นช่องเล็กๆ พอให้ยี่นศีรษะออกไปได้เท่านั้น
2.  ไม่นิยมต่อยอดป้านลมให้สูงขึ้นไป เหมือนเรือนของชาวไทยล้านนาที่เรียกว่า 'กาแล'
3.  ไม่นิยมตั้งเสาเรือนบนตอม่อ เหมือนเรือนของชาวไทยมุสลิมทางภาคใต้ ด้วยเหตุที่ชาวไทยภาค อีสานปลูกเรือนด้วยการฝังเสา จึงไม่มีการตั้งบนตอม่อ

วัฒนธรรมเกี่ยวกับที่สืบเนื่องจากการทำเกษตรกรรม

        ในภาคอีสานมีลักษณะทำการเกษตรแบบยังชีพ (subsistence) เป็นส่วนมา คือทำการเกษตรเพื่อที่จะนำผลิตผลมาบริโภคในครัว เรือนของตน เช่น ปลุกข้าวไว้กิน, ปลูกฝ้ายไว้ทอผ้า เลี้ยงไหมไว้ ทอผ้า เป็นต้น การเกษตรส่วนใหญ่จะเน้นที่ การทำนา เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งการทำนายังคงใช้แรงงานจากคนและสัตว์อยู่ บริเวณปลูกข้าวที่ สำคัญคือที่รายลุ่มแม่น้ำ เกษตรกรยังมีการใช้แรงงานไม่เต็มที่ตลอด ปี ในช่วงฤดูแล้งเป็นช่วงที่ทำงานไม่เต็มที่มากที่สุดเลยต้องย้ายเข้ากรุงเพื่อไปหางานที่นั้นแทน


         การเลี้ยงไหมจึงมีการทอผ้าอีด้วยผ้าภาคอีสานชาวอีสานถือว่าการทอผ้าเป็นกิจกรรมยามว่างหลังจากฤดูการทำนาหรือว่างจากงานประจำอื่นๆ ใต้ถุนบ้านแต่ละบ้านจะกางหูกทอผ้ากันแทบทุกครัวเรือนโดย ผู้หญิง ในวัยต่างๆ จะสืบทอดกันมาผ่านการจดจำและปฏิบัติจากวัยเด็กทั้งลวดลายสีสัน การย้อมและการ ทอ ผ้าที่ทอด้วยมือจะนำไปใช้ตัดเย็บทำเป็นเครื่องนุ่งห่ม หมอน ที่นอน ผ้าห่ม และการทอผ้ายังเป็นการ เตรียมผ้าสำหรับการออกเรือนสำหรับหญิงวัยสาวทั้งการเตรียมสำหรับตนเองและเจ้าบ่าว ทั้งยังเป็นการวัด ถึงความเป็นกุลสตรีเป็นแม่เหย้าแม่เรือนของหญิงชาวอีสานอีกด้วย ผ้าที่ทอขึ้นจำแนกออกเป็น 2 ชนิด คือ

1.  ผ้าทอสำหรับใช้ในชีวิตประจำวัน จะเป็นผ้าพื้นไม่มีลวดลายเพราะต้องการความทนทานจึงทอด้วย ฝ้ายย้อมสีตามต้องการ
2.  ผ้าทอสำหรับโอกาสพิเศษ เช่น ใช้ในงานบุญประเพณีต่างๆ งานแต่งงานงานฟ้อนรำผ้าที่ทอจึงมัก มีลวดลายที่สวยงามวิจิตรพิสดารมีหลากหลายสีสัน ประเพณีที่คู่กันมากับการทอผ้าคือการลงข่วง โดยบรรดาสาวๆ ในหมู่บ้านจะพากันมารวมกลุ่มก่อกองไฟ บ้างก็สาวไหม บ้างก็ปั่นฝ้าย กรอฝ้าย ฝ่ายชายก็ถือโอกาสมาเกี้ยวพาราสีและนั่งคุยเป็นเพื่อนบางครั้งก็มีการนำดนตรีพื้นบ้านอย่างพิณ แคน โหวต มาบรรเลงจ่ายผญาโต้ตอบกันเนื่องจากอีสานมีชนอยู่หลายกลุ่มวัฒนธรรม


วัฒนธรรมเกี่ยวกับประเพณี พิธีกรรมและความเชื่อ

ประเพณีบุญบั้งไฟ เป็นประเพณีที่ชาวอีสานจัดขึ้นในเดือน 6 เรียกกันว่า "บุญเดือนหก" มีจุดมุ่งหมายเพื่อ เป็นงานรื่นเริงครั้งใหญ่ก่อนการเริ่มทำนา และเป็นการสร้างกำลังใจว่าการทำนาในปีนั้นจะได้ผลดี โดยมี ความเชื่อว่าเทวดาคือ "พระยาแถน" สามารถบัลดาลให้พืชผลในท้องนาอุดมสมบูรณ์ หากบูชาเซ่นสรวงให้ พระยาแถนพอใจก็จะช่วยให้ฝนตกตามฤดูกาล การทำนาได้ผลธัญญาหารบริบูรณ์ โดยเฉพาะถ้าหมู่บ้านใคร ทำบุญบั้งไฟติดต่อกันทุก 3 ปี

ประเพณีผีตาโขน  การละเล่นผีตาโขนมีมานานแล้ว แต่ไม่มีหลักฐานปรากฎแน่ชัดว่ามีมาตั้งแต่เมื่อใด แต่ ชาวบ้านมีความเชื่อว่าการแห่ผีตาโขนเกิดขึ้นเมื่อครั้งที่พระเวสสันดรและนางมัทรี กำลังจะออกจากป่ากลับ สู่เมือง บรรดาผีป่าและสัตว์นานาชนิด มีความอาลัยจึงแฝงตนมากับชาวบ้าน เพื่อมาส่งพระเวสสันดร และ นางมัทรีกลับเมือง ซึ่งเรียกกันว่า "ผีตามคน หรือผีตาโขน" ช่วงเวลาการละเล่น คือช่วงเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน ของทุกปี

ผีตาโขนจะแบ่งเป็น 2 ชนิด คือ

1.  ผีตาโขนใหญ่  จะสานมาจากไม้ไผ่ มีขนาดใหญ่กว่าคนประมาณ 2 เท่า แล้วจะประดับตกแต่งหน้าตาด้วยเศษวัสดุที่หาได้ในท้องถิ่น ใน การทำผีตาโขนใหญ่ในแต่ละปีจะทำ 2 ตัว คือ ชาย 1 ตัว และหญิง อีก 1 ตัวเท่านั้น ผู้ที่มีหน้าที่ทำผีตาโขนใหญ่ จะต้องได้รับอนุญาต จากผีหรือเจ้าก่อน และเมือได้รับอนุญาตแล้ว ต้องทำผีตาโขนใหญ่ ทุกๆ ปี หรือต้องทำติดต่อกันอย่างน้อย 3 ปี เพราะว่าคนที่ไม่ได้รับ อนุญาตก็จะไม่มีสิทธิ์ทำผีตาโขนใหญ่ เวลาแห่จะต้องมีคนเข้าไปอยู่
ในตัวหุ่น
2.  ผีตาโขนเล็ก  ไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่ก็มีสิทธิ์ทำผีตาโขนเล็ก เพื่อเข้าร่วมสนุกสนานกันได้ทุกคน การเล่นของผีตาโขนเล็กค่อน ข้างผาดโผน ผู้หญิงจึงไม่ค่อยนิยมเข้าร่วม การแต่งกายของผู้ที่เข้า ร่วมในพิธีแห่ผีตาโขน จะแต่งกายคล้ายกันกับผี ปีศาจ ที่สวมศีรษะ ด้วยที่นึ่งข้าวเหนียว หรือที่เรียกว่า "กระติ๊บข้าวเหนียว" นั่นเอง และ ใส่หน้ากากที่ทำด้วยกาบมะพร้าวแกะสลัก มีการละเล่นร้องรำทำ เพลงกันอย่าง






วันพุธที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

แบบฝึกหัด บทที่ 4 เทคโนโลยีสารสนเทศ กลุ่มเรียนที่ 2 รายวิชา การจัดการสารสนเทศยุคใหม่ในชีวิตประจำวัน รหัสวิชา 0026008 ชื่อ นายภาคภูมิ เพ็ชรนอก รหัส 56011210046

แบบฝึกหัด

บทที่ 4  เทคโนโลยีสารสนเทศ                                                  กลุ่มเรียนที่ 2
รายวิชา การจัดการสารสนเทศยุคใหม่ในชีวิตประจำวัน             รหัสวิชา 0026008
ชื่อ นายภาคภูมิ  เพ็ชรนอก                                                         รหัส 56011210046

คำชี้เเจง จงตอบคำถามต่อไปนี้

1.  ให้นิสิตยกตัวอย่างอุปกรณ์ที่ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศตามหัวข้อต่อไปนี้ อย่างน้อยข้อละ 3 ชนิด แล้วแลกเปลี่ยนกันตรวจสอบกับเพื่อน

1) การบันทึกข้อมูลและจัดเก็บข้อมูล 
1.  ดาวเทียมถ่ายภาพทางอากาศ
2.  เทปแม่เหล็ก จานเเม่เหล็ก
3.  บัตรเอทีเอ็ม ATM


2) การแสดงผล
1.  เครื่องพิมพ์

2.  จอภาพ
3. พลอตเตอร์


3) การประมวลผล

1.  เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
2.  ฮาร์ดแวร์ 
3.  ซอฟต์เเวร์ 

4)การสื่อสารและเครือข่าย
1.  วิทยุ
2.  โทรทัศน์
3.  โทรเลข




1.  ให้นิสิตนำตัวเลขในช่องขวา มาเติมหน้าข้อความในช่องซ้ายที่มีความสัมพันธ์กัน


...3...  ซอฟต์แวร์ประยุกต์  
...6...  Information Technolog
...1...  คอมพิวเตอร์ในยุคประมวลผลข้อมูล  
...4...  เทคโนโลยีสารสนเทศ ประกอบด้วย  
...10...  ช่วยเพิ่มผลผลิต เพิ่มต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน  
...7...  ซอฟต์แวร์ระบบ
...9...  การนำเสนอบทเรียนในรูปมัลติมีเดียที่ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ด้วยตนเองได้ตามระดับความสามารถ
...8...  EDI
...5...  การสื่อโทรคมนาคม

...2...  บริการชำระภาษีออนไลน์


1.  ส่วนใหญ่ใช้ทำหน้าที่คำนวณ ประมวลผล
2.  e-Revenue
3.  เทคโนโลยีต่างๆ ที่นำมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินการเกี่ยวกับสารสนเทศ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ความถูกต้องแม่นยำ และความรวดเร็วต่อการนำไปใช้
4.  มีองค์ประกอบพื้นฐาน 3 ส่วนได้เเก่ Sender Medium และDecoder
5.  การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการรับ-ส่งเอกสารจากหน่วยงานหนึ่งไปยังอีกหน่วยงานหนึ่งโดยส่งผ่านเครือข่าย
6.  เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีการสื่อสารโทรคมนาคมและเทคโนโลยีอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
7.  โปรแกรมที่ทำหน้าที่ใช้ควบคุมอุปกรณ์ต่างๆ ภายในระบบคอมพิวเตอร์
8.  โปรแกรมระบบห้องสมุดอัตโนมัติ จัดเป็นซอฟต์เเวร์ประเภท
9.  CAI
10.  ลักษณะสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ

วันจันทร์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

แบบฝึกหัด บทที่ 2 บทบาทสารสนเทศเเละสังคม กลุ่มเรียนที่ 2 รายวิชา การจัดการสารสนเทศยุคใหม่ในชีวิตประจำวัน รหัสวิชา 0026008 ชื่่อ นายภาคภูมิ เพ็ชรนอก รหัสนิสิต 56011210046

แบบฝึกหัด

บทที่ 2 บทบาทสารสนเทศเเละสังคม                                                       กลุ่มเรียนที่ 2
รายวิชา การจัดการสารสนเทศยุคใหม่ในชีวิตประจำวัน                           รหัสวิชา 0026008
ชื่่อ นายภาคภูมิ  เพ็ชรนอก                                                                        รหัสนิสิต 56011210046

คำชี้เเจง  จงตอบคำถามต่อไปนี้

1. ให้นิสิตหารายชื่อเว็บไซต์หรือเทคโนโลยีที่ให้บริการต่างๆ  ตามหัวข้อเหล่านี้มาอย่างละ 3 รายการ

1.1 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในสาขาการศึกษา 
http://www.studentloan.or.th
http://www.msu.ac.th
http://www.kku.ac.th
1.2 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในวิชาชีพธุรกิจ พาณิชย์ และสำนักงาน 
http://www.moc.go.th
http://www.gpef.or.th
http://www.doae.go.th
1.3 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในวิชาชีพการสื่อสารมวลชน 
www.chiangmainews.co.th
www.thairath.com
www.matichon.co.th
1.4 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในวิชาชีพทางอุตสาหกรรม
www.industry.go.th
www.dip.go.th
www.diw.go.th
1.5 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในวิชาชีพทางการแพทย์
http://www.cancer.org
http://www.cdc.gov
http://www.familydoctor.org
1.6 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในวิชาชีพทหารตำรวจ 
http://www.glo.or.th/
http://www.rpcafamily.com/
http://www.greatcadettutor.com/
1.7 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในวิชาชีพวิศวกรรม
http://www.acat.or.th/
http://www.coe.or.th/
http://www.thaiengineering.com/
1.8 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในวิชาชีพด้านเกษตรกรรม
http://www.thaigreenagro.com
http://www.moac.go.th
http://www.doae.go.th
1.9 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับคนพิการต่างๆ
http://www.braille-cet.in.th/Braille-CET/
http://www.tddf.or.th/tddf/
http://lib02.kku.ac.th/dsskku/
 

2. มหาวิทยาลัยมหาสารคามเตรียมเทคโนโลยีสารสนเทศด้านการศึกษาให้กับท่าน มีอะไรบ้าง บอกมาอย่าง น้อย 3 อย่าง 

http://tdc.thailis.or.th/tdc/
http://reg.msu.ac.th
http://www.msu.ac.th

3. ข้อ 2 จงวิเคราะห์ว่าท่านจะเอาเทคโนโลยีเหล่านั้น มาทำให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองอย่างไรบ้าง

- สามารถ Download เอกสารงานวิจัย วิทยานิพนธ์ฟรีจาก http://tdc.thailis.or.th/tdc/
- สามารถลงทะเบียนเรียน ตรวจสอบข้อมูลการศึกษา ได้จาก 
http://reg.msu.ac.th
- สามารถติดตามข่าวสารจากทางมหาวิทยาลัย และดูรายละเอียดต่างๆในหลักสูตรได้จาก 
http://www.msu.ac.th