วันพฤหัสบดีที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2556

เครื่องดนตรีภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ( ภาคอีสาน ) นายภาคภูมิ เพ็ชรนอก รหัส 56011210046 รายวิชา การจัดการสารสนเทศยุคใหม่ในชีวิตประจำวัน กลุ่มเรียนที่ 2


เครื่องดนตรีพื้นบ้านอีสาน

กระจับปี่ ,ไหซอง, จะเข้, หึน, ฆ้อง ฉิ่ง ฉาบ, กั๊บแก๊บ, แคน, พิณ, โปงลาง, โหวต, ซอ, กลอง, ปี่กู่แคน
          นอกจากนี้ ดนตรียังเป็นองค์ประกอบที่สำคัญในการฟ้อนซึ่งจะขาดเสียมิได้ เพราะดนตรีนอกจากจะให้การฟ้อนเกิดความพร้อมเพรียงกันแล้ว ดนตรียังเป็นแรงกระตุ้นสำคัญที่ทำให้ผู้ฟ้อนรู้สึกต้องการฟ้อนและฟ้อนอย่างมีความสุข ดนตรีที่ใช้ประกอบการฟ้อนมีตั้งแต่ดนตรีชิ้นเดียวอย่างเสียงกระทบของสาก เสียงกลอง จนถึงการผสมวงมีเครื่องดนตรีหลายๆ ชิ้นประกอบกัน ดนตรีอีสานแบ่งออกตามกลุ่มวัฒนธรรมดังนี้

ประเภทเครื่องดีด เครื่องดนตรีประเภทใช้ดีด ได้แก่

วัฒนธรรมกลุ่มดนตรีอีสานเหนือ

ประเภทเครื่องดีด เครื่องดนตรีประเภทใช้ดีด ได้แก่
1. พิณพื้นเมือง ซึ่งมีชื่อเรียกแตกต่างกันออกไปเช่น ซุง ซึง หมากจับปี่ หมากตดโต่ง หมากตับเต่ง เป็นต้น พิณทำด้วยไม้ เช่น ไม้ขนุน เพราะมีน้ำหนักเบาและให้เสียงทุ้มกังวานไพเราะกว่าไม้ชนิดอื่น มีรูปร่างคล้ายกีตาร์แต่ฝีมือหยาบกว่า พิณอาจจะมี 2 สาย 3 สาย หรือ 4 สายก็ได้ โดยแบ่งออกเป็น 2 คู่ เป็นสายเอก 2 สาย และสายทุ้ม 2 สาย ดั้งเดิมใช้สายลวดเบรครถจักรยานเพราะคงทนและให้เสียงดังกว่าสายชนิดอื่น แต่ในปัจจุบันนิยมใช้สายกีตาร์แทน การขึ้นสายไม่มีระบบแน่นอน นมหรือขั้นที่ใช้นิ้วกดบังคับระดับเสียงจะไม่ฝังตายตัวเหมือนกีตาร์หรือแมนโดลิน การเล่นก็เล่นเป็นเพลงเรียกว่าลาย โดยมากพิณจะเล่นคู่กันกับแคน
2. หุนหรือหืน เป็นเครื่องดีดที่ทำด้วยไม้ไผ่ ซึ่งชาวภาคกลางเรียกว่า จ้องหน่อง เวลาดีดต้องใช้ปากคาบไว้ที่กระพุ้งแก้ม ซึ่งจะทำหน้าที่เป็นเครื่องขยายเสียง หุนจะมีเสียงค่อนข้างเบา ดังนั้นจะดีดให้เป็นทำนองชัดเจนได้ยาก
3. โกย คือ หุนหรือจ้องหน่องที่ทำด้วยโลหะ นิยมเล่นกันในหมู่ผู้หญิงผู้ไทสมัยโบราณ
4. ไหซองหรือพิณไห เป็นพิณที่ทำมาจากไหน้ำปลาหรือไหใส่ปลาร้า นิยมทำเป็นชุดๆ ละหลายใบโดยมีขนาดลดหลั่นกัน ตรงปากไหใช้เส้นยางหนังสติกหรือเส้นยางที่ตัดมาจากยางในของรถจักรยานผูกและขึงผ่านให้ได้เสียงประสานกัน โดยทำหน้าที่ให้เสียงทุ้มคล้ายกีตาร์เบสของฝรั่ง
พิณ ซึง ซุง  พิณไหซอง  พิณ ซึง ซุง  ไหซอง หรือ พิณไห
ประเภทเครื่องสี หมายถึง เครื่องดนตรีที่มีสายสีด้วยคันชัก หรือเครื่องสายตามการเรียกในภาคกลาง
1. ซอพื้นเมือง แตกต่างจากซออื่นๆ เพราะซอพื้นเมืองของภาคอีสานแทนที่จะทำด้วยไม้กับกะลามะพร้าวแต่กลับทำด้วยไม้กับปี๊บหรือกระป๋อง ในบางครั้งก็เรียกว่า ซอปี๊บ หรือ ซอกระป๋อง ซอชนิดนี้มีอยู่ 2 สาย คันชักที่ใช้สีนั้นทำเช่นเดียวกับซอสามสาย คันชักของซอปี๊บจะอยู่ข้างนอก วิธีการสีเช่นเดียวกับซอสามสายหรือไวโอลิน การเล่นเพลงเช่นเดียวกับพิณ
2. ซอไม้ไผ่ หรือ ซอบั้ง ทำด้วยไม้ไผ่หนึ่งปล้องมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณสองถึงสามนิ้ว ถากผิวออกจนเหลือกระบอกบางๆ เจาะรูให้เกิดโพรงเสียง ขึ้นสายสองสายไปตามยาวของปล้องไม้ไผ่ แล้วสีด้วยคันชัก ซอไม้ไผ่มีข้อเสียที่เสียงเบาเกินไป
ประเภทเครื่องตี หมายถึง เครื่องดนตรีประเภทตีดำเนินทำนอง ได้แก่ ซอปี๊บ ซอกระบอก  ซอกระบอก  โปงลาง  ซอกระป๋อง ซอปิ๊บ  ซอกระบอก  โปงลาง
1.  โปงลาง มีลักษณะคล้ายระนาดแต่มีขนาดใหญ่ เดิมทีโปงลางเป็นชื่อของกระดึงที่แขวนคอวัวต่าง เป็นสัญญาณระหว่างการเดินทางไปค้าขาย ส่วนโปงที่เป็นเครื่องดนตรีเดิมชาวบ้านในจังหวัดกาฬสินธุ์เรียกว่า ขอลอโปงลางทำจากไม้เนื้อแข็งเช่น ไม้หมากเหลื่อม ไม้สมอป่า ไม้พยุง ไม้ประดู่ ไม้ขนุน แต่ที่นิยมว่าให้เสียงไพเราะที่สุดได้แก่ ไม้มะหาด ที่ตายยืนต้นมาแล้วประมาณ 3 ปี
โปงลางจะประกอบด้วยลูกระนาดหรือไม้ท่อนโตขนาดแขนจำนวน 12 ท่อน เรียงจากขนาดใหญ่ไปหาเล็กหรือระดับเสียงต่ำไปหาสูง ท่อนยาวที่สุดประมาณฟุตครึ่ง และสั้นที่สุดประมาณ 1 ฟุต ถากตรงกลางให้บางเพื่อปรับระดับเสียงแล้วใช้เชือกร้อยเป็นผืนไม่ต้องใช้รางอย่างระนาด แต่ใช้แขวนไว้กับหลักหรือเสาแต่ไม่ให้ท่อนล่างชิดพื้น เสียงโปงลางประกอบด้วยเสียงห้า คือ เสียง โด เร มี ซอล ลา ในการตีโปงลางนิยมใช้คนบรรเลง 2 คน แต่ละคนใช้ไม้ตีสองอัน คนหนึ่งตีเสียงทำนองเพลงตามลายต่างๆ เช่นเดียวกับพิณหรือแคน อีกคนหนึ่งตีเสียงเสริมประสาน
2. กลอง ในภาคอีสานมีกลองที่ใช้ในการบรรเลงดนตรีประกอบจังหวะหลายประเภท เช่น
กลองยาวหรือกลองหาง เป็นกลองขึ้นหนังหน้าเดียว ตัวกลองทำด้วยไม้จริง เช่น ไม้มะม่วง ตอนหน้าใหญ่ตอนท้ายมีลักษณะเรียว มีหลายขนาดตรงกลางของหน้ากลองจะติดข้าวสุกบดผสมขี้เถ้าถ่วงเสียงตัวกลองยาวนั้น
กลองเส็ง หรือ กลองกิ่ง หรือ กลองแต้ เป็นกลองคู่ประเภทหน้าเดียว นิยมใช้สำหรับการแข่งขันประลองความดังกัน หรืออาจใช้สำหรับตีในงานบุญต่างๆ เช่น งานบุญบั้งไฟ การตีกลองเส็งจะใช้ไม้ตีซึ่งนิยมใช้ไม้เค็ง (ไม้หยี) เพราะเหนียวและทนทานกว่าไม้ชนิดอื่นๆ
กลองตุ้ม เป็นกลองสองหน้าคล้ายกับตะดพน แต่ต่างจากตะดพนตรงที่หน้ากลองตุ้มทั้งสองหน้ามีขนาดเท่ากัน ส่วนใหญ่ใช้ตีประกอบกับกลองยาวในขบวนแห่หรือขบวนฟ้อนในเทศกาลต่างๆ
กลองตึ้ง เป็นกลองรำมะนาขนาดใหญ่ที่ใช้ในวงกลองยาว เวลาตีต้องใช้คนสองคนหาม และให้คนที่หามอยู่ข้างหลังเป็นคนตีไปด้วย
กลองกาบบั้ง หรือ กลองกาบเบื้อง เป็นกลองรำมะนาเป็นกลองหน้าเดียวหรือเบื้องเดียว นิยมใช้ตีผสมวงกับกลองตุ้มและกลองยาว
1.ผ่างฮาด หรือ ฆ้องโหม่ง แบบโบราณชนิดที่ไม่มีปุ่มนูนตรงกลางเหมือนฆ้องทั่วๆ ไป คือแผ่นหน้าของผ่างฮาดจะเรียบเสมอกันหมด นิยมใช้ตีผสมกับเครื่องกำกับจังหวะในขบวนฟ้อนผู้ไท ฟ้อนเซิ้งบั้งไฟ
2.หมากกับแก๊บ หรือ หมากก๊อบแก๊บ หรือ กรับคู่ เป็นกรับพื้นเมืองอีสานทำด้วยไม้ธรรมดาสองชิ้น จักเป็นร่องฟันใช้ครูดหรือกรีดตามจังหวะ
นอกจากเครื่องดนตรีเหล่านี้แล้ว ยังมีเครื่องดนตรีประเภทตีทำด้วยโลหะอีกหลายชิ้น เช่น ฉิ่ง ฉาบ ซึ่งภาษาอีสานเรียกว่า สิ่ง แส่ง
           ผ่างฮาด กลอง   แคน โหวด   ผ่างฮาด
ประเภทเครื่องเป่า

1. แคน เครื่องเป่าที่เรารู้จักกันดีและแพร่หลาย เป็นเครื่องดนตรีที่เป็นสัญลักษณ์ของชาวอีสาน รายละเอียดเกี่ยวกับแคนเพิ่มเติมคลิกที่นี่ เสียงของแคนมีความไพเราะแสดงได้ทั้งอารมณ์สนุกสนาน เศร้าสร้อย การเป่าแคนจะมีท่วงทำนองซึ่งเรียกกันว่า ลายแคน เช่น ลายสุดสะแนน ลายลมพัดไผ่ ลายแม่ฮ้างกล่อมลูก ฯลฯ2. โหวต เป็นเครื่องเป่าที่ทำด้วยลูกแคนแต่ไม่มีลิ้น โดยนำเอากู่แคนจำนวนประมาณ 7 ถึง 12 อันมาตัดให้ได้ขนาดลดหลั่นกันให้ปลายทั้งสองข้างเปิด ปลายด้านล่างใช้ขี้สูตรปิดให้สนิท ส่วนปลายบนเปิดไว้สำหรับเป็นรูเป่า โดยนำเอากู่แคนมารวมกันเข้ากับแกนไม้ไผ่ที่อยู่ตรงกลาง จัดลุกแคนล้อมรอบในลักษณะทรงกลม ตรงหัวโหวตใช้ขี้สูตรก่อเป็นรูปกรวยแหลม เพื่อใช้เป็นฐานสำหรับจรดฝีปากด้านล่าง และให้โหวตหมุนได้รอบทิศเวลาเป่า3. ปี่ผู้ไท เป็นปี่ที่ทำจากไม้กู่แคน โดยเอากู่แคนมาปล้องหนึ่งตัดโดยเปิดปลายข้างหนึ่ง และขังข้ออีกด้านหนึ่งตรงปลายด้านที่บั้งข้อเจาะช่องสำหรับใส่ลิ้นที่ทำด้วยทองเหลือง เจาะรูเยื่อ 1 รู และรูนับ 5 รู ปรับเสียงให้เท่ากับเสียงแคนดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดงการฟ้อนของอีสานเหนือดั้งเดิม จะใช้เครื่องดนตรีหลักเพียงชนิดใดชนิดหนึ่งชนิดเดียว เช่น ฟ้อนผีฟ้า ฟ้อนผีหมอ จะใช้แคน ฟ้อนกลองตุ้มจะใช้กลองตุ้มอย่างเดียว แต่ในการแสดงชุดที่ประดิษฐ์ขึ้นใหม่ในยุคหลังจะใช้ดนตรีลักษณะผสมวงหลายชิ้น เช่น พิณ แคน โปงลาง กลอง ฯลฯ ผสมกัน

วัฒนธรรมกลุ่มดนตรีอีสานใต้

             ซอกันตรึม   ตรัว   ซอกันตรึม   พิณน้ำเต้า   ตรัวอู้

ประเภทเครื่องดีด

1.พิณกระแสเดียวหรือ กระแสมุย แปลว่า พิณเสียงเดียวหรือพิณสายเดียว กระโหลกพิณทำด้วยลูกน้ำเต้าแก่จัดตากให้แห้งตัดครึ่งด้านขวางของผล แกะเมล็ดในและเยื่อออกให้หมด ใช้หวายขันชะเนาะกระโหลกน้ำเต้าให้ติดกับโคนของคันพิณลูกบิดอยู่ทางด้านโคน สุดของคันพิณขึงโยงด้วยสายโลหะ จากลูกบิดสอดหวายที่ขันชะเนาะอยู่ไปผูกกับปลายคันพิณ ตอนปลายสุดมีลักษณะงอนเป็นรูปพระยานาคชูหัว ซึ่งชาวไทยภาคกลางเรียกว่า พิณน้ำเต้า
2.จาเป่ย หรือ กระจับปี่ มีลักษระคล้าย ซึง มีสายคู่ซึ่งสายแต่ละคู่ตั้งเสียงให้เท่ากัน คันพิณทำด้วยไม้เนื้อแข็ง ส่วนกล่องเสียงจะทำด้วยไม้ขนุนหรือไม้สัก ที่ส่วนปลายสุดของคันพิณมีรู 4 รู เพื่อใส่ลูกบิดและร้อยสาย และที่คันพิณจะมีที่วางนิ้วซึ่งขัดไว้เป็นระยะๆ
3.อังกุ๊ยจ์ ชาวไทยภาคกลางเรียกว่า จ้องหน่อง ลักษณะเดียวกันกับ หุน หรือ หืน ทำด้วยไม้ไผ่
ประเภทเครื่องสี เครื่องดนตรีที่ใช้สีด้วยคันชักหรือคันสีที่รู้จักกันดี ได้แก่ ซอกันตรึม หรือ ตรัว ลักษณะของวอกันตรึมนี้ส่วนใหญ่จะคล้ายคลึงกับซอด้วงและซออู้ที่ใช้ในวงดนตรีไทยในปัจจุบัน ในอีสานใต้นี้พบว่ามีใช้กันอยู่ 4 ขนาด
4.ซอเล็ก หรือ ตรัวจ์ ซึ่งมีรูปร่างคล้ายซอด้วง แต่มีเสียงสูงและแหบกว่า
5.ซอกลาง หรือ ตรัวซอ มีขนาดใหญ่กว่าซอเล็ก
6.ซอใหญ่ หรือ ตรัวซอ มีขนาดใหญ่ที่สุด
7.ซออู้ หรือ ตรัวอู มีลักษณะคล้ายซออู้ตามปกติ
ซอทั้ง 4 ขนาดมีรูปร่างไม่แตกต่างกันมากนัก ต่างกันเฉพาะขนาดและวัสดุที่ใช้ทำกระโหลกซอเท่านั้น ซอเล็กนั้นบางครั้งพบว่าใช้เขาควายมาทำเป็นกระโหลก แต่ซอกลางและซอใหญ่นั้นนิยมใช้ไม้ขนุนหรือไม้เนื้อแข็ง ส่วนซออู้นั้นกระโหลกซอจะใช้กะลามะพร้าวขนาดใหญ่ และใช้หนังงูเหลือม หรือหนังตะกวดปิดหน้ากระโหลกซอ วงกันตรึมในปัจจุบันนิยมใช้ซอกลางและซออู้บรรเลงในงานทั่วๆไป

ประเภทเครื่องตี

1. กลองกันตรึม หรือ สะกัว มีลักษณะเป็นกลองขนาดเล็ก รูปร่างคล้ายโทนดินเผา ตัวกลองขุดจากไม้ขนุน หรือลำต้นมะพร้าวโดยกลึงภายนอกให้ได้รูปร่างเสียก่อน จึงเจาะคว้านภายในให้เป็นโพรงกลวง ใช้หนังวัวหรือหนังงูเหลือมหุ้มปากกลอง
2.นอกจากนี้ยังมีเครื่องตีอื่นๆ อีก เช่น ระนาดเอก ฆ้องวง ฆ้องราว ฆ้องหุ่ย กลองรำมะนา กลองตะโพน ฉิ่ง ฉาบ
กลองกันตรึม
กลองกันตรึม ปี่เญ็น    ปี่อังกอ, ปี่จรุง, ปี่โจร่ง

 ประเภทเครื่องเป่า

1.  ปี่อ้อ หรือ แบ็ยอด เป็นปี่ที่ทำจากไม้ไผ่ ส่วนที่เป็นตัวปี่ทำด้วยไม้อ้อ โดยเหลาปลายข้างใดข้างหนึ่งจนบางแล้วบีบให้แบนประกบกันในลักษณะลิ้นคู่ แต่ที่ปลายลิ้นยังมีลักษณะกลมเพื่อสอดส่วนที่เป็นท่อนปลายของตัวปี่ และใช้ไม้ไผ่หรือหวายเล็กบีบประกบกัน เพื่อให้ปลายลิ้นของปี่มีรูปร่างคงเดิมอยู่เสมอ ลำตัวของปี่อ้อจะเจาะรูด้านบน 7 รู และด้านล่างอีก 1 รูไว้สำหรับปิดเปิดเปลี่ยนระยะทางเดินของลมเวลาเป่า
2.  ปี่สไนง์ หรือ สแนง เป็นปี่ชนิดหนึ่งที่ทำมาจากเขาควาย โดยเจาะช่องด้านบนของเขาควาย ใส่ลิ้นอย่างแคน ผนึกด้วยขี้สูดให้สนิท ใช้เชือกผูกปลายเขาทั้งสองข้างแขวนคอแล้วใช้ปากเป่า โดยใช้อุ้งมือขวาปิดเปิดเพื่อควบคุมระดับเสียง

ปี่ที่ใช้ในวงกันตรึม

ปี่ไฉน         ปี่ไสน       ปี่เน       แป็ยออ       ปี่อ้อ           อังกุ๊ยส์
 ยกตัวอย่าง


พิณพื้นเมืองภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีชื่อเรียกแตกต่างกัน เช่น ซุง หมากจับปี่ มากต้องโต่งและหมากตับแต่ง มีสายตั้งแต่ 2 - 4 สาย ชนิดที่มี 4 สาย ก็คล้ายกับซึงของภาคเหนือ แต่ปลายกะโหลกพิณป้านกว่า พิณพื้นเมืองภาคนี้ ทำด้วยไม้เนื้อแข็งประดิษฐ์ขึ้นอย่างง่าย ๆ ไม่สู้จะประณีตนัก ใช่เล่น  เดี่ยว หรือเล่นร่วมกับวงแคน และโปงลาง



เป็นเครื่องตี ทำด้วยไม้ร้อยต่อกันจำนวน 12 ท่อนด้วยเชือกเป็นผืน แต่ละท่อนมีขนาด และความยาวลดหลั่นกันตามลำดับ จากใหญ่ลงมาเล็ก เวลาเล่นใช้ด้านใหญ่(ด้านบน) แขวนกับกิ่งไม้ หรือไม้ขาตั้ง ด้านเล็ก (ด้านล่าง) ใช้เท้าผู้เล่น หรือทำที่เกี่ยวยึดไว้ มักใช้ผู้เล่น 2 คน คนหนึ่งเล่นทำนองเพลงเรียก "หมอเคาะ" อีกคนหนึ่งทำหน้าที่เคาะประสานเสียงทำจังหวะเรียก "หมอเสิร์ฟ" โปงมีเสียง 5 เสียง คือ โด เร มี ซอล ลา ไม่มีเสียง ฟาและที


เป็นเครื่องเป่าทำด้วยไม้ซางขนาดต่าง ๆ นำมาเรียงลำดับผูกติดกันเป็น 2 แถว ๆ ละ 6 ลำบ้าง 7 ลำบ้าง หรือ 8 ลำบ้าง สุดแท้แต่ว่าจะเป็นแคนหก แคนเจ็ด หรือแคนแปด โดยเรียงลำใหญ่ไว้คู่หน้า และลำเล็ก ๆ เป็นคู่ถัดไปตามลำดับ และต้องเรียงให้กลางลำตรงที่ใส่ลิ้นอยู่ในระดับเดียวกัน แล้วเอาไม้จริงมาถากเจาะรูสำหรับเป่า (เรียกส่วนนี้ว่า "เต้า") เอาลำไม้ซางที่เรียงไว้สอดลงในเต้าให้พอดีกับตรงที่ใส่ลิ้นไว้ แล้วเอาชัน หรือขี้ผึ้งพอกกันลมรั่ว เหนือเต้าขึ้นไปประมาณ 4 - 5 ซม. เจาะรูด้านข้างของลำไม้ซางตั้งแต่คู่ที่ 2 เป็นต้นไป ลำละ 1 รู สำหรับนิ้วปิดเปิดเปลี่ยนเสียง ส่วนคู่แรก เจาะรูด้านหน้าเหนือเต้าขึ้นไปประมาณ 2 - 3 ซม. สำหรับนิ้วหัวแม่มือปิดเปิด การเป่าแคนต้องใช้ทั้งเป่าลมเข้า และดูดลมออก โดยเป่าตรงหัวเต้าด้านที่เจาะรูไว้ อาจกล่าวได้ว่า แคนเป็นเครื่องดนตรีสัญลักษณ์ของภาคอีสาน ประชาชนแถบนี้นิยมเป่าเล่นสืบต่อกันมาช้านาน ทั้งเล่นเ ดี่ยวคลอการร้อง และเล่นเป็นวงโดยผสมกับเครื่องดนตรีอื่น เช่น พิณ โปงลางกลอง ฯลฯ ประกอบการแสดงพื้นบ้านภาคอีสานต่าง ๆ  



เป็นเครื่องเป่าไม่มีลิ้น ตัวโหวดทำด้วยไม้ไผ่รวก (หรือไม้เฮี้ย) ลำเล็ก ๆ สั้นยาว ต่างกัน จำนวน  6 - 9 ลำ มัดติดกับกระบอกไม้ไผ่ที่เป็นแกนกลาง โดยใช้ขี้สุดติดแต่ละลำจะมีระดับเสียงแตกต่างกันตามขนาดสั้น ยาว ตามปกติโหวดมีเสียง 5  เสียง แต่เดิมใช้เชือกผูกปลายด้านหนึ่ง แล้วเหวี่ยงหมุนกลับไปกลับมาทำให้เกิดเสียงโหยหวล ต่อมาใช้ปากเป่าเล่น เพลงพื้นบ้าน เป็นที่นิยมกันทั่วไปในแถบอิสาน



พิณไห เป็นพิณที่ทำมาจากไหน้ำปลาหรือไหใส่ปลาร้า นิยมทำเป็นชุดๆ ละหลายใบโดยมีขนาดลดหลั่นกัน ตรงปากไหใช้เส้นยางวง หรือเส้นยางที่ตัดมาจากยางในของรถจักรยานผูกและขึงผ่านให้ได้เสียงประสานกัน โดยทำหน้าที่ให้เสียงทุ้มคล้ายกีตาร์เบสของฝรั่ง


เพลงพื้นบ้านภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ( ภาคอีสาน ) นายภาคภูมิ เพ็ชรนอก รหัส 56011210046 รายวิชา การจัดการสารสนเทศยุคใหม่ในชีวิตประจำวัน กลุ่มเรียนที่ 2

เพลงพื้นบ้านภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ( ภาคอีสาน )

ประเภทของเพลงพื้นบ้าน
          เพลงพื้นบ้านแบ่งได้หลายประเภทขึ้นอยู่กับวิธีการจัดแบ่งดังนี้
แบ่งตามเขตพื้นที่  
          เป็นการแบ่งตามสถานที่ที่ปรากฏเพลง อาจแบ่งกว้างที่สุดเป็นภาค เช่น เพลงพื้นบ้านภาคกลาง เพลงพื้นบ้านภาคเหนือ เพลงพื้นบ้านภาคอีสาน เพลงพื้นบ้านภาคใต้ หรืออาจแบ่งย่อยลงไปอีกเป็นเขตจังหวัด อำเภอ ตำบล เช่น เพลงพื้นบ้านตำบลเขาทอง อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ เพลงพื้นบ้านของอำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี  
แบ่งตามกลุ่มวัฒนธรรมของผู้เป็นเจ้าของเพลง  
          เป็นการแบ่งตามกลุ่มชนท้องถิ่นที่มีวัฒนธรรม หรือเชื้อชาติต่างกัน เช่น เพลงพื้นบ้านกลุ่มวัฒนธรรมไทยโคราช เพลงพื้นบ้านกลุ่มวัฒนธรรมเขมร-ส่วย เพลงพื้นบ้านกลุ่มวัฒนธรรมไทย-ลาว เพลงพื้นบ้านกลุ่มไทยมุสลิม 
แบ่งตามโอกาสที่ร้อง  
          กลุ่มหนึ่งเป็นเพลงที่ร้องตามฤดูกาลหรือเทศกาล เช่น เพลงที่ร้องในฤดูกาลเก็บเกี่ยว ได้แก่ เพลงเกี่ยวข้าว เพลงสงฟาง เพลงนา และเพลงที่ร้องในเทศกาลสงกรานต์ ได้แก่ เพลงบอก เพลงร่อยพรรษา เพลงตร๊จ อีกกลุ่มหนึ่งเป็นเพลงที่ร้องได้ทั่วไปไม่จำกัดโอกาส เช่น ซอ หมอลำ เพลงโคราช เพลงลำตัด เพลงฉ่อย เพลงอีแซว
แบ่งตามจุดประสงค์ในการร้อง  
          เช่น เพลงกล่อมเด็ก เพลงปลอบเด็ก เพลงประกอบการละเล่นของเด็ก เพลงปฏิพากย์ เพลงร้องรำพัน เพลงประกอบการละเล่นของผู้ใหญ่ และเพลงประกอบพิธีกรรม
แบ่งตามจำนวนผู้ร้อง  
          เป็นเพลงร้องเดี่ยวและเพลงร้องหมู่ เช่น เพลงกล่อมเด็ก เพลงพาดควาย จ๊อย เป็นเพลงร้องเดี่ยว ส่วนเพลงเกี่ยวข้าว เพลงเรือ เป็นเพลงร้องหมู่ นอกจากนี้ ยังมีการแบ่งประเภทเพลงพื้นบ้านแบบอื่นๆ เช่น ตามความสั้นยาวของเพลง แบ่งตามเพศของผู้ร้อง แบ่งตามวัยของผู้ร้อง

เพลงพื้นบ้านภาคอีสาน
          ภาคอีสานเป็นแหล่งรวมกลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมแตกต่างกันถึง ๓ กลุ่ม จึงมีเพลงพื้นบ้านแบ่งเป็น ๓ ประเภท ดังนี้

๑.    เพลงพื้นบ้านกลุ่มวัฒนธรรมไทย-ลาว
๒.    เพลงพื้นบ้านกลุ่มวัฒนธรรมเขมร-ส่วย (กูย)
๓.    เพลงพื้นบ้านกลุ่มวัฒนธรรมไทยโคราช

เพลงพื้นบ้านกลุ่มวัฒนธรรมไทย-ลาว
          กลุ่มชนกลุ่มนี้ ได้แก่ ประชาชนในจังหวัดหนองคาย อุดรธานี เลย สกลนคร นครพนม กาฬสินธุ์ มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ขอนแก่น ชัยภูมิ มุกดาหาร ยโสธร อุบลราชธานี บุรีรัมย์ และบางส่วนของจังหวัดศรีสะเกษ กลุ่มชนนี้ใช้ภาษาถิ่น คือ ภาษาอีสาน เพลงพื้นบ้านของกลุ่มวัฒนธรรมไทย- ลาว มี ๒ ประเภท คือ หมอลำ และเซิ้ง
ก. หมอลำ
          หมอลำเป็นเพลงพื้นบ้านที่นิยมมากในภาคอีสาน ได้พัฒนาการแสดงเป็นคณะ มีการฝึกหัดเป็นอาชีพ รับจ้างไปแสดงในงานต่างๆ มีทำนองลำ เรียกตามภาษาถิ่นว่า
 "ลาย" ที่นิยมมีด้วยกัน ๔ ลาย คือ
๑. ลายทางเส้น    
๒. ลายทางยาว    
๓. ลายลำเพลิน
๔. ลายลำเต้ย
ตัวอย่าง  ลายลำเต้ย  ชื่อ  เต้ยโขง
    ลา ลา ก่อนเด้อ    ขอให้เธอจงมีรักใหม่
ชาตินี้ขอเป็นขวัญตา    ชาติหน้าขอเป็นขวัญใจ
ชาตินี้แลชาติใด    ขอให้ได้เคียงคู่กับเธอ


คณะหมอลำ ที่ร้องเล่นหมอลำ โดยใช้ภาษาถิ่นอีสาน

ข. เซิ้ง หรือลำเซิ้ง   
          คำว่า "เซิ้ง" หมายถึง การฟ้อนรำ เช่น เซิ้งกระติบ หรือทำนองเพลงชนิดหนึ่ง เรียก ลำเซิ้ง เซิ้งทั่วไปมี ๓ แบบ คือ เซิ้งบั้งไฟ เซิ้งเต้านางแมว และเซิ้งเต้านางด้ง การเซิ้งนี้มักจะเป็นกลุ่มย่อยๆ ตั้งกระบวนแห่ไปขอปัจจัย เพื่อร่วมทำบุญงานวัด
ตัวอย่าง  เซิ้งหลักธรรม (ตัดความมาบางตอน)

    องค์พุทโธเพิ้นว่าจังซี้    ไผขี้ถี่เกิดเป็นปลาหลด
เกิดมาอด  กินหยังบ่ได้    ของใหญ่ๆ แม่นบ่ได้กิน
พระมุนินทร์เพิ้นว่าชั้นดอก    ข้อยสิบอกให้เจ้ารู้คลอง
รู้ทำนองทรัพย์สินภายนอก    เพิ่นนั้นบอกให้กินให้ทาน
สร้างสะพานผลาไปหน้า    ขึ้นชั้นฟ้าสวรรค์นิพพาน



การฟ้อนรำเซิ้งกระติบ

เพลงพื้นบ้านกลุ่มวัฒนธรรมเขมร-ส่วย (กูย)
          เป็นกลุ่มประชาชนในจังหวัดสุรินทร์ ศรีสะเกษ และบางส่วนของจังหวัดบุรีรัมย์ มีภาษาของตนเอง คือ ภาษาเขมร และภาษาส่วย(กูย) ซึ่งต่างไปจากภาษาถิ่นอื่นๆ นอกจากนี้ ยังมีวัฒนธรรมเฉพาะถิ่น โดยเฉพาะเพลงพื้นบ้านที่เรียกว่า"เจรียง" ซึ่งแปลว่า ร้อง หรือขับลำ


การร้องเล่นเจรียงซันตูจ ซึ่งเป็นเพลงพื้นบ้านกลุ่มวัฒนธรรมเขมร-ส่วย (กูย)

การเล่นเจรียงนั้น มีทั้งที่จัดเป็นคณะ และเล่นกันเองตามเทศกาล เป็น ๒ ลักษณะ ได้แก่
๑. เจรียงในวงกันตรึมวง ซึ่งเป็นวงดนตรีประกอบด้วย ปี่ออ ปี่ชลัย กลอง กันตรึม ฉิ่ง ฉาบ กรับ ปัจจุบันมีซออู้ และซอด้วงด้วย เมื่อเจ้าภาพจัดหาวงกันตรึมมาเล่น ก็จะมีการร้องเพลง คือ เจรียงประกอบวงกันตรึม เนื้อร้องจะเลือกให้เข้ากับงานบุญกุศลนั้นๆ หรือตามที่ผู้ฟังขอมา
๒. เจรียงเป็นตัวหลัก ในวันเทศกาล ชาวบ้านที่มีอารมณ์ศิลปินจะจับกลุ่มร้องเจรียงที่จำสืบทอดกันมา ผลัดกันร้อง และรำฟ้อนด้วย เช่น เจรียงตรุษ เจรียงนอรแกว (เพลงร้องโต้ตอบระหว่างชาย-หญิง)
ตัวอย่าง เจรียงซันตูจ (เพลงตกเบ็ด)

    ปกัวร์เลือนกันโดะ        (ฟ้าลั่นสั่นสะเทือน)
บองจัญเรียบ มจ๊ะเสราะ        (พี่ขอแจ้งเจ้าของบ้าน)
บองโซมลีงซันตูจโกน  กระโมม    (พี่ขอเล่นตกเบ็ดกับลูกสาว)
ลิ่งเตียง  เนียงตูจ            (เล่นทั้งน้องนางคนเล็ก)
รโฮด  ดอลเนียงธม        (ตลอดถึงน้องนางคนโต)
โซมลีง  ซันตูจโกน  กระโมม    (ขอเล่นตกเบ็ดกับลูกสาว)
ตามจ๊ะโบราณ            (ตามคนแก่โบราณ)

เพลงพื้นบ้านกลุ่มวัฒนธรรมไทยโคราช
          กลุ่มชนวัฒนธรรมไทยโคราช ได้แก่ ประชาชนในจังหวัดนครราชสีมา และบางส่วนของจังหวัดบุรีรัมย์ เพลงพื้นบ้านของชนกลุ่มนี้ คือ เพลงโคราช ปัจจุบันพัฒนาจากเพลงพื้นบ้านมาเป็นคณะหรือเป็นวง มีการฝึกหัดเป็นอาชีพ รับจ้างแสดงในงานบุญ งานมงคล งานแก้บนท้าวสุรนารี เนื้อร้องโต้ตอบระหว่างชาย-หญิง กลอนเพลงมีหลายแบบ เช่น เพลงคู่สอง เพลงคู่สี่ ใช้ปรบมือตอนจะลงเพลงแล้วร้อง 
"ไช ยะ"



การร้องเล่นเพลงโคราชที่มีเนื้อร้องโต้ตอบกันระหว่างชายและหญิง

ตัวอย่าง เพลงโคราช
เห็นต้นระกำ    คราวนี้จะช้ำเอยต้นกู    ไม่เห็นแม่ดวง    พี่ก็จะดูแต่ต้นระกำ
เอยกะต้นเกด    เกดเอยเคยสังเกต    นั่งเช็ดน้ำตา    มองเห็นกกไม้พี่ก็มอง
ดูแต่กายเอยแค่เกล็ด    กกไม้ทำไมยังมี    ตาเกดตากัน    เกดเอ๋ยแม่เกด
จะแล้งแล้วแม่โฉมตรู  นึกเห็นแต่ก่อนเรา    เคยกอดเชิดชู...กัน




วันอังคารที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

การละเล่นพื้นบ้านภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ( ภาคอีสาน ) นายภาคภูมิ เพ็ชรนอก รหัส 56011210046 รายวิชา การจัดการสารสนเทศยุคใหม่ในชีวิตประจำวัน กลุ่มเรียนที่ 2

การละเล่นพื้นบ้านภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ( ภาคอีสาน )


ก๊อกล๊อต



ภาค  :  ตะวันออกเฉียงเหนือ
จังหวัด  :  เลย
อุปกรณ์และวิธีเล่น  :  อุปกรณ์ที่เล่นประกอบด้วยแผ่นไม้กระดานแผ่นเรียบ ๑ แผ่น ไม้ขนาดหน้าสาม ๑ ท่อนและเหรียญบาทหรือเหรียญห้าบาท หรือเหรียญสิบบาท
วิธีการเล่น
เริ่มโดยเตรียมสถานที่เป็นที่โล่งแล้วนำไม้กระดานแผ่นเรียบไปพิงไว้ที่ใดที่หนึ่งให้ทำมุมเฉียง ๔๕ องศา ต่อจากนี้นำไม้หน้าสามไปวางเป็นแนวนอนให้อยู่ตรงข้ามกับไม้กระดานแผ่นเรียบโดยให้ห่างจากกันประมาณ ๑ เมตร เมื่อเตรียมทุกอย่างเสร็จเรียบร้อยผู้เล่นจะมีจำนวนกี่คนก็ได้เข้าแถวเพื่อรอคิวกลิ้งเหรียญจากแผ่นไม่กระดานแผ่นเรียบไปกระทบแผ่นไม้หน้าสาม การตัดสิน หากเหรียญของผู้เล่นคนใดกรกระเด็นออกไปไกลที่สุดก็จะถือว่าเป็นผู้ชนะ รางวัล คือเหรียญทั้งหมดที่มีผู้ลงเล่นในแต่ละครั้ง แต่การละเล่นก๊อกล๊อตมีเงื่อนไขข้อหนึ่งว่าการใช้เหรียญเพื่อแข่งขันผู้เล่นต้องใช้เหรียญประเภทเดียวกัน
โอกาสหรือเวลาที่เล่น  :  นิยมเล่นในช่วงเดือนเมษายนของทุกปีคือเทศกาลสงกรานต์
คุณค่า/แนวคิด/สาระ  :  การละเล่นก๊อกล๊อตมิใช่การละเล่นที่มุ่งเพื่อการพนัน แต่เป็นการละเล่นเพื่อความสนุกสนาน คลายความเครียดความเหน็ดเหนื่อยหลังจาก ฤดูเก็บเกี่ยวข้าว อีกทั้งเป็นการเชื่อมความสมัครสมานสามัคคี


งูกินหาง




ภาค  :  ตะวันออกเฉียงเหนือ
จังหวัด  :  ร้อยเอ็ด
อุปกรณ์และวิธีเล่น  :  การเล่นงูกินหางไม่มีอุปกรณ์การเล่นใดๆ สามารถเล่นได้ทุกโอกาส จะมีเล่นทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ส่วนมากผู้ใหญ่จะเล่นในเทศกาลสำคัญ เช่น สงกรานต์ ส่วนเด็กๆจะเล่นทุกโอกาสที่เด็กๆรวมตัวกัน ซึ่งมีวิธีการเล่นดังนี้ เริ่มเล่นเมื่อผู้เล่นพร้อมกันแล้วจะเริ่มด้วยการเสี่ยง ถ้าใครแพ้คนนั้นก็จะออกเป็นพ่องู ส่วนผู็ชนะก็จะได้เป็นแม่งูและลูกงู ส่วนมาในกลุ่มผู้เล่นจะเลือกเอมคนที่มีร่างกายแข็งแรงหรือรูปร่างใหญ่ในทีมเป็นแม่งู เพื่อเอาไว้ป้องกันลูกงู เมื่อได้ผู้เล่นแล้วพ่องูและแม่งูจะยืนหันหน้าเข้าหากัน ส่วนแม่งูจะมีลูกงูกอดเอวต่อแถวไปข้างหลังแล้วพ่องูจะเริ่มถามแม่งูว่า

พ่องู : " แม่งูเอ๋ยกินน้ำบ่อไหน"
แม่งู : " กินน้ำบ่อโสกโยกไปโยกมา" พร้อมแสดงอาการส่ายตัวไปมา
พ่องู : " แม่งูเอ๋ยกินน้ำบ่อไหน"
แม่งู : " กินน้ำบ่อหินบินไปก็บินมา" พร้อมแสดงอาการบินไปบินมา
พ่องู : " แม่งูเอ๋ยกินน้ำบ่อไหน"
แม่งู : " กินน้ำบ่อทรายย้ายไปย้ายมา" พร้อมแสดงอาการส่ายตัวไปมา
พ่องู : " กินหัวกินหางกินกลางตลอดตัว"

เมื่อพ่องูกล่าวเสร็จ พ่องูจะเริ่มไล่จับลูกงูที่กอดเอวแม่งูอยู่ ส่วนแม่งูก็จะพยายามป้องกันไม่ให้พ่องูไปแย่งลูกงูได้ เมื่อพ่องูจับลูกงูคนใดได้ลูกงูก็จะออกมายืนอยู่ต่างหากเพื่อรอเล่นรอบต่อไป ส่วนพ่องูจะพยายามแย่งลูกงูให้ได้หมดทุกตัวจึงจะถือว่าจบการเล่นรอบหนึ่ง เมื่อพ่องูจับลูกงูได้ทุกตัวแล้วก็จะเริ่มเล่นใหม่ โดยพ่องูคนเดิมจะกลับไปเป็นแม่งูในรอบต่อไป
คุณค่า/แนวคิด/สาระ    :    ๑.  ให้ความสนุกสนานในกลุ่มผู้เล่น
                                          ๒.  ฝึกให้เกิดความสามัคคีในกลุ่มผู้เล่น
                                          ๓.  ฝึกฝนการต่อสู้และการหลบหลีกภัยที่เกิดกับตน
                                          ๔.  ฝึกการทำงานเป็นกลุ่มตั้งแต่วัยเด็ก
                                          ๕.  ได้ออกกำลังกาย ทำให้ร่างกายแข็งแรง


เดินกะลา




ภาค  :  ตะวันออกเฉียงเหนือ
จังหวัด  :  ยโสธร
อุปกรณ์  :  ประกอบด้วยกะลาสองอันขนาดเท่าๆกัน เจาะรูตรงกลางแล้วใช้เชือกหนึ่งเส้นยาวประมาณ ๒-๓ เมตร หรือพอเหมาะกับผู้เล่น ปลายแต่ละข้างสอดเข้าไปในรูกะลาที่เจาะไว้ โดยคว่ำกะลาแล้วผูกปมเชือกไว้ให้โตกว่ารูของกะลาเพื่อกันเชือกหลุดเวลาเล่น
วิธีการเล่น
ผู้เล่นจะขึ้นไปยืนบนกะลาโดยใช้นิ้วหัวแม่เท้าและนิ้วชี้คีบเชือกบนกะลา มือสองข้างดึงเชือกให้ตึง และเดินแข่งขันกัน
โอกาสหรือเวลาที่จะเล่น  :  เล่นได้ทุกโอกาส แต่มักจะมีการเล่นเมื่อมีงานเทศกาลต่างๆ
คุณค่า/แนวคิด/สาระ  :  เพื่อความสนุกสนาน และความสามัคคีในหมู่คณะ


โปงลาง




ภาค  :  ตะวันออกเฉียงเหนือ
จังหวัด  :  กาฬสินธุ์
อุปกรณ์  :  การเล่นโปงลางต้องประกอบไปด้วยดนตรีพื้นบ้าน ได้แก่ แคน ซอ พิณ หมากกั๊บเก็บ กลอง ไห นอกจากนี้ปัจจุบันได้พัฒนาขึ้นโดยมีนักร้องและผู้ร่ายรำประกอบเสียงดนตรีในวงโปงลางอีกด้วย
วิธีการเล่น
ทำนองลายโปงลางที่บรรเลงนั้น ได้จากการเลียนเสียงธรรมชาติและวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวอีสาน เช่น
๑.  สายลมพัดพร้าว ลีลาของเพลงแสดงถึงเสียงลมที่พัดมาถูกใบมะพร้าวจะแกว่งสะบัดตามแรงลมกลายเป็นเสียงและลีลาที่น่าฟังยิ่ง
๒.  ลายโปงลาง ลีลาของเพลงนี้จะทำให้ผู้ฟังนึกถึงเสียงกระดิ่งผูกคอวัวที่ดังอยู่ไม่ขาดระยะมองเป็นวัวเดินตามกันเป็นทิวแถวข้ามทุ่ง
๓.  ลายช้างขึ้นภู ลีลาของเพลงจะมีความเนิบช้าสง่างาม เหมือนลีลาการเดินของช้างที่กำลังเดินขึ้นภูเขาสูง
๔.  ลายแมลงภู่ตอมดอกไม้ ลีลาของเพลงจะทำให้มองเห็นภาพของแมลงภู่ที่บินวนเดูดน้ำหวายจากเกสรดอกไม้เป็นหมู่ๆ พร้อมกับส่งเสียงร้องด้วยความสดชื่นรื่นเริง
๕.  ลายนกไซบินข้ามทุ่ง ลีลาของเพลงบรรยายถึงลีลาของนกที่บินเป็นหมู่ข้ามท้องทุ่งอันเขียวขจีด้วยนาข้าว
๖.  ลายแม่ฮ้างกล่อมลูก ลีลาของเพลงสะท้อนให้เป็นถึงความอ้างว้างว้าเหว่ของหญิงที่ถูกสามีทอดทิ้งต้องกล่อมลูกอยู่เดียวดายตามลำพัง
๗.  ลายภูไทยเลาะตูบ ลีลาของเพลงแสดงถึงภาพชีวิตของหนุ่มชาวภูไทที่มักจะแวะเวียนไปพูดกับหญิงสาวตามบ้านต่างๆในเวลาค่ำ
            นอกจากนั้นยังมีลาย กาเต้นก้อน จะไข้เทียบเสียงโปงลางแต่ละลูกหลังจากทำเสร็จเรียบร้อย ซึ่งถือเป็นลายครูของโปงลาง และลายอื่นๆอีกซึ่งถือเป็นลายหลัก คือลายอ่านหนังสือใหญ่ อ่านหนังสือน้อย ลายสร้อย และลายเซ ซึ่งเพียงฟังจากชื่อก็จะรับรู้ถึงท่วงทำนองของเพลงที่กลั่นกรองมาจากชีวิตพื้นบ้านและธรรมชาติรอบข้าง
คุณค่า/แนวคิด/สาระ    : โปงลาง เป็นเครื่องดนตรีพื้นเมืองของอีสานชนิดหนึ่งที่ถือกำเนิดที่จังหวัดกาฬสินธุ์ จึงถือเป็นสัญลักษณ์ของจังหวัดกาฬสินธุ์ มีประวัติความเป็นมาที่น่าสนใจ โดยเฉพาะผู้สืบทอดและอนุรักษ์ไว้ คือ นายเปลื้อง ฉายรัศมี ศิลปินแห่งชาติ โปงลางจึงควรแก่การอนุรักษ์และถ่ายทอดให้เยาวชนรุ่นหลังได้ทราบ และตระหนักถึงคุณค่าของศิลปวัฒนธรรมที่ดีงาม และคุณความดีของบุคคลที่น่ายึดถือเป็นแบบอย่างสืบทอดไว้ตราบชั่วกาลนาน